top of page
GREEN CARD

ใบเขียวมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Permanent Resident Card หรือเรียกโดยย่อว่า กรีนการ์ด (Green Card)  ซึ่งเป็นบัตรแสดงสิทธิการมีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาอย่างถาวร  คนถือใบเขียวจะถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (Lawful Permanent Resident) เรียกย่อ ๆ ว่า LPR  คนที่ได้รับใบนี้จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีสิทธิเสรีภาพเหมือนกับคนอเมริกัน ยกเว้นการออกเสียงเลือกตั้ง คือ ถ้าใครที่ถือใบเขียวจะสามารถพักอาศัย ประกอบอาชีพการทำงาน ทำธุรกิจ และขอใบเขียวให้กับคู่สมรสและลูกได้ อย่างไรก็ตาม ใบเขียวมีอายุแค่ 10 ปี ดังนั้น อาจมีการเสียสิทธิผู้อยู่อาศัยถาวรได้ถ้าไม่ต่อใบเขียวหรืออาศัยออยู่นอกอเมริกานานกว่า 6 เดือนต่อปี 

***หมายเหตุคำศัพท์ เพื่อความง่ายและสั้น ต่อไปนี้เราจะเรียกกรีนการ์ด (Green Card) เป็นใบเขียว ชาวสหรัฐฯ (U.S. Citizen) เป็นชาวอเมริกัน และผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (LPR) ว่าผู้ถือใบเขียว

การพำนักอาศัยและทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างถาวรนั้น คนไทยจะต้องได้รับการสปอนเซอร์จากญาติชาวอเมริกัน หรือผู้ถือใบเขียว หรือนายจ้าง หรืออาจเป็นสปอนเซอร์ให้กับตัวเองได้ ขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์และสถานการณ์ โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โดยเราจะเลือกมาเฉพาะประเภทวีซ่าที่ตรงกับคนไทยเท่านั้น

Anchor 1

Green Card through Family
ใบเขียวผ่านทางครอบครัว

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

ระยะเวลาดำเนินการของแต่ละวีซ่านั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า โดยจะเรียงลำดับจากเร็วที่สุดไปถึงช้าที่สุด ดังต่อไปนี้

  • K3/CR1/IR1: Spouses of a U.S. Citizen - คู่สมรสของชาวอเมริกัน

    • K3 เป็นวีซ่าชั่วคราวของคู่สมรสที่จะเดินทางมาปรับสถานะเพื่อขอใบเขียวที่อเมริกา โดยเมื่อมาถึงแล้วจะต้องยื่นเรื่องเพื่อขอใบเขียวในฐานะ CR1/IR1 อีกที ส่วนการจะได้ใบเขียวที่มีอายุ 2 ปีหรือ 10 นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่งงานกันมาถึง 2 ปีแล้วหรือยัง อนึ่ง ระยะเวลาดำเนินการของวีซ่า K3 ในช่วงนี้จะใช้ระยะเวลานานกว่า CR1/IR1 ทำให้คนส่วนใหญ่ไปจะตัดสินใจไปยื่นขอวีซ่า CR1/IR1 แทน

    • CR1 (Conditional Resident) เป็นวีซ่าถาวรพร้อมการขอใบเขียวระหว่างที่รอวีซ่าอยู่ที่เมืองไทย สำหรับคู่สมรสของชาวอเมริกันที่แต่งงานกันมานานน้อยกว่า 2 ปี พอมาถึงอเมริกาแล้วใบเขียวและใบทำงานจะมารออยู่ที่บ้าน พอใบเขียว 2 ปีนั้นใกล้จะหมดอายุในอีก 90 วัน ผู้ถือใบเขียวประเภทนี้ก็สามารถยื่นถอดถอนเงื่อนไข (Removal Conditions on Residence) เพื่อขอใบเขียวแบบ 10 ปีได้ 

    • IR1 (Immediate Relative) เป็นวีซ่าถาวรพร้อมการขอใบเขียวระหว่างที่รอวีซ่าอยู่ที่เมืองไทย สำหรับคู่สมรสของชาวอเมริกันที่แต่งงานกันมานานมากกว่า 2 ปี พอมาถึงอเมริกาแล้วใบเขียว 10 ปีและใบทำงานจะมารออยู่ที่บ้าน

  • K4/CR2/IR2: Unmarried children under 21 yrs. old of a U.S. Citizen - บุตรอายุต่ำกว่า 21 ปีและเป็นโสดของชาวอเมริกัน  หมายความรวมถึงลูกเลี้ยงของชาวอเมริกันที่เป็นลูกติดของคู่สมรสด้วย ในกรณีที่เป็นลูกเลี้ยง (step-children) ชาวอเมริกันจะต้องแต่งงานกับพ่อแม่ของเด็กก่อนที่เด็กจะมีอายุ 18 ปี  ความแตกต่างของวีซ่ากลุ่มนี้ ก็จะเหมือนกันในเรื่องของเงื่อนไขการได้รับใบเขียวเหมือนกับกลุ่มวีซ่า K3/CR1/IR1 โดยวีซ่า K4 จะเป็นวีซ่าชั่วคราวสำหรับลูกของชาวอเมริกันหรือลูกติดคู่สมรสของชาวอเมริกัน ที่ต้องมายื่นเรื่องขอใบเขียวในอเมริกา ส่วน CR2/IR2 จะดำเนินการขอวีซ่าและขอใบเขียวในคราวเดียวกันระหว่างรอที่ไทย  เป็นหากเป็นไปได้แนะนำให้ขอวีซ่าเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กับพ่อแม่ที่ขอวีซ่า K3/CR1/IR1 เพราะจะได้วีซ่าเร็วกว่าการขอแยกกันโดยเฉพาะตอนที่เด็กโตขึ้นและมีอายุเกิน 21 ปี ก็จะต้องเปลี่ยนไปขอวีซ่าประเภทครอบครัว (F Visas - Family-based) ที่ต้องรอวีซ่านานยิ่งขึ้นไปอีก  บุตรบุญธรรม (adopted children) ที่อายุต่ำกว่า 21 ปีของชาวอเมริกันก็จัดอยู่ในกลุ่มวีซ่า CR2/IR2 ประเภทนี้

  • IR3/IR4/IH3/IH4: Adoptive children of a U.S. Citizen - บุตรบุญธรรมประเภทอื่น ๆ ของชาวอเมริกัน  แบ่งเป็นประเภทย่อย ดังนี้

    • IR3 (Children adopted abroad) บุตรบุญธรรมของชาวอเมริกันที่ได้รับการอุปถัมภ์จากต่างประเทศ

    • IR4 (Children traveling to the U.S. to be adopted) เด็ก ๆ ที่จะเดินทางเข้าอเมริกาเพื่อรับการอุปถัมภ์โดยชาวอเมริกัน

    • IH3 (Children adopted from Hague Convention countries) บุตรบุญธรรมของชาวอเมริกันจาก 12 ประเทศภายใต้สนธิสัญญากรุงเฮก

    • IH4 (Children form Hague Convention countries traveling to the U.S. to be adopted) เด็ก ๆ จาก 12 ประเทศภายใต้สนธิสัญญากรุงเฮกที่จะเดินทางเข้าอเมริกาเพื่อรับการอุปถัมภ์

  • Parents of a U.S. Citizen who are at least 21 years old - บิดามารดาของชาวอเมริกัน ซึ่งมีอายุอย่างน้อย 21 ปี (IR5) พ่อแม่ท่านใดที่มีลูกชาวอเมริกันอายุ 21 ปีขึ้นไป สามารถให้ลูกยื่นขอวีซ่าพร้อมกับการขอใบเขียวให้ได้ พอเรื่องผ่านและเดินทางมาถึงอเมริกาแล้ว ใบเขียว 10 ปีพร้อมใบทำงานก็จะมารออยู่ที่บ้าน

หมายเหตุ

  • K1/K2: Fiancé(e) of a U.S. citizen or the fiancé(e)’s child - คู่หมั้นของชาวอเมริกัน หรือบุตรของคู่หมั้น

    • K1 เป็นวีซ่าชั่วคราวสำหรับคู่หมั้นของชาวอเมริกัน เพื่อเข้ามาแต่งงานกับชาวอเมริกันคนที่เป็นสปอนเซอร์วีซ่านี้ให้ หลังจากเดินทางมาอเมริกาและแต่งงานภายใน 90 วัน ก็จะสามารถปรับสถานะเป็นผู้ถือใบเขียวในฐานะ CR1/IR1  ส่วนจะได้ใบเขียวแบบ 2 ปีหรือ 10 ปีก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนที่เรื่องใบเขียวผ่าน ระยะเวลาการแต่งงานจะครบ 2 ปีแล้วหรือยัง

    • K2 ถือว่าเป็นวีซ่าชั่วคราวของลูกเลี้ยง (step-children) อายุไม่เกิน 18 ปีของชาวอเมริกันที่เดินทางมาพร้อมพ่อหรือแม่ที่เป็นคู่หมั้น โดยเมื่อมาถึงและพ่อแม่แต่งงานกับชาวอเมริกันที่เป็นสปอนเซอร์วีซ่าให้ภายใน 90 วันแล้ว ก็สามารถยื่นปรับสถานะพร้อมกับพ่อแม่ในฐานะ CR2/IR2 เพื่อขอใบเขียวได้ ส่วนจะได้แบบ 2 ปีหรือ 10 ปีก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการแต่งงานของพ่อแม่กับชาวอเมริกันว่าเกินกว่า 2 ปีตอนที่ใบเขียวออกแล้วหรือไม่

  • IW: Widow(er) of a U.S. citizen - พ่อม่ายหรือแม่ม่ายของชาวอเมริกัน  สำหรับคนที่เป็นคู่สมรสของชาวอเมริกันที่แต่งงานกันแล้วและชาวอเมริกันได้เสียชีวิตระหว่างที่การแต่งงานนั้นยังไม่สิ้นสุด  

    • สำหรับคนที่คู่สมรสชาวอเมริกันขอวีซ่า CR1/IR1 ให้ก่อนหน้าที่พวกเขาเสียชีวิต คุณจะต้องแจ้งให้กับทาง USCIS ทราบ แล้วประเภทวีซ่านั้นก็จะเปลี่ยนจาก CR1/IR1 เป็น IW แทนส่วนจะได้ใบเขียวแบบ 2 ปีหรือ 10 ปีก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการแต่งงานตอนที่เรื่องใบเขียวผ่าน

    • สำหรับคนที่คู่สมรสชาวอเมริกันเสียชีวิตและไม่ได้ขอวีซ่า CR1/IR1 ให้ คุณจะต้องยื่นขอวีซ่า IW ภายใน 2 ปีนับจากวันที่พวกเขาเสียชีวิต

หมายเหตุ

  • หากชาวอเมริกันหรือผู้ถือใบเขียวที่เป็นสปอนเซอร์ให้กับสมาชิกในครอบครัว (Petitioner) เสียชีวิต การดำเนินการด้านวีซ่าเหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ผู้ขอวีซ่าจะต้องหาสปอนเซอร์วีซ่าถาวรใหม่ (อ่านเพิ่มเติม) ยกเว้นกรณีวีซ่าถาวรคู่สมรส ​CR1/IR1 และ CR2/IR2 การดำเนินการเรื่องวีซ่ายังเลื่อนต่อไปได้ เพียงแต่ต้องแจ้งให้ทาง USICS ทราบเพิ่มเติมเท่านั้น

  • หากสมาชิกในครอบครัว (Principal Beneficiary) ที่ชาวอเมริกันหรือผู้ขอใบเขียวขอวีซ่าถาวรให้เสียชีวิต การดำเนินการด้านวีซ่าเหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเช่นกัน  

  • F1: Family First Preference of a U.S. Citizen - วีซ่าครอบครัวความสำคัญอันดับหนึ่งของชาวอเมริกัน

    • Unmarried adult children of a U.S. Citizen เป็นวีซ่าพร้อมกับการขอใบเขียวสำหรับบุตรอายุ 21 ปีขึ้นไปและเป็นโสดของชาวอเมริกัน หากพวกเขามีลูกอายุไม่เกิน 18 ปี ก็สามารถขอพ่วงกับพ่อแม่มาด้วยได้ 

  • F2A/F2B: Family Second Preference of a LPR - วีซ่าครอบครัวความสำคัญอันดับสองของผู้ถือใบเขียว แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย

    • F2A: Spouses and minor children of a LPR เป็นวีซ่าถาวรพร้อมการขอใบเขียวสำหรับคู่สมรสและบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปีของผู้ถือใบเขียว ลูกเลี้ยงหรือลูกติดคู่สมรส (step-child) ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีก็สามารถขอวีซ่าพ่วงมากับพ่อแม่ได้ 

    • F2B: Unmarried children age 21 and over of a LPR เป็นวีซ่าถาวรเพร้อมการขอใบเขียวสำหรับบุตรที่ที่อายุ 21 ปีขึ้นไปและเป็นโสดของผู้ถือใบเขียว

  • F3: Family Third Preference of a U.S. Citizen - วีซ่าครอบครัวความสำคัญอันดับสามของชาวอเมริกัน
    •  Married adult children of a U.S. Citizen and their spouses and minor children เป็นวีซ่าพร้อมกับการขอใบเขียวสำหรับบุตรอายุ 21 ปีขึ้นไปที่แต่งงานแล้วของชาวอเมริกัน โดยคู่สมรสและบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปีของพวกเขาก็จะได้รับวีซ่าและใบเขียวด้วยในคราวเดียวกัน

  • F4: Family Fourth Preference of a U.S. Citizen - วีซ่าครอบครัวความสำคัญอันดับสี่ของชาวอเมริกัน

    • Siblings of a U.S. citizen who are at least 21 yrs old and their spouses and minor children เป็นวีซ่าพร้อมกับการขอใบเขียวสำหรับพี่น้องอายุ 21 ปีขึ้นไปของชาวอเมริกัน โดยคู่สมรสและบุตรของอายุต่ำกว่า 18 ปีของพวกเขาก็จะได้รับวีซ่าและใบเขียวด้วยในคราวเดียวกัน

Green Card through Employment
ใบเขียวผ่านการจ้างงาน

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

ระยะเวลาดำเนินการของแต่ละวีซ่านั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า โดยจะเรียงลำดับจากเร็วที่สุดไปถึงช้าที่สุด ดังต่อไปนี้

ใบเขียวผ่านการจ้างงาน (Green Card through Employment) ที่รู้จักกันในนามวีซ่า EB (Employment Based) ซึ่งเป็นวีซ่าถาวร แบ่งตามระดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้

  • EB1: Employment First Preference - วีซ่าทำงานความสำคัญอันดับหนึ่ง

    • Priority Workers and Persons of Extraordinary Ability สำหรับคนงานที่มีความสำคัญระดับสูงหรือผู้ที่มีความสามารถพิเศษอย่างสูงสุดในด้านต่าง ๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน ศาสตราจารย์ นักธุรกิจ นักกีฬา เป็นต้น

  • EB2: Employment Second Preference - วีซ่าทำงานความสำคัญอันดับสอง

    • Professionals Holding Advanced Degrees and Persons of Exceptional Ability สำหรับผู้ชำนาญการที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านต่าง ๆเช่น ด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ หรือธุรกิจ ซึ่งทำงานด้านที่ตนเองถนัดและมีความก้าวหน้ามาตลอดเวลามานานกว่า 5 ปี

  • EB3: Employment Third Preference - วีซ่าทำงานความสำคัญอันดับสาม

    • Skilled Workers, Professionals, and Unskilled Workers or Other Workers) - แรงงานฝีมือ มืออาชีพ หรือคนที่ไม่มีทักษะ และคนงานประเภทอื่น ๆ ​​เป็นวีซ่าถาวรสำหรับคนงานที่มีทักษะหรือมีฝีมือจะต้องมีการฝึกฝนทักษะหรือมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ มาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี  สำหรับคนที่เป็นมืออาชีพจะต้องทำงานที่กำหนดระดับการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญาตรีหรือเป็นสมาชิกองค์กรด้านวิชาชีพต่าง ๆ  ส่วนคนงานที่ไม่มีทักษะหรือคนงานประเภทอื่น ๆ นั้นจะเป็นแรงงานที่ทำงานตำแหน่งที่ไม่ต้องใข้ทักษะที่กำหนดระยะเวลาการฝึกฝนหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า 2 ปี ตัวอย่างผู้ที่จะขอวีซ่าประเภทนี้ก็ได้แก่ พวกพ่อครัวแม่ครัว พยาบาล ช่างไฟ ช่างประปา คนทำงานครัว คนสวน แม่บ้าน ฯลฯ

  • EB2: Employment Second Preference - วีซ่าทำงานความสำคัญอันดับสอง

    • Physician National Interest Waiver (NIW) สำหรับแพทย์ที่ตกลงทำงานเต็มเวลาในการรักษากับคนในเขตชุมชนผู้ด้อยโอกาสแบบเต็มเวลาในอเมริกาเป็นเวลาติดต่อกันนานกว่า 5 ปี โดยต้องเป็นแพทย์ด้านที่ยังขาดแคลน, หมอโรคจิต, หมอในพื้นที่ด้อยโอกาสทางการแพทย์, หมอแผนกทหารผ่านศึก, หรือหมอเชี่ยวขาญพิเศษในเขตที่ยังขาดแคลน  ผู้ที่สนใจสามารถขอจดหมาย (attestation) จากหน่วยงานสุขภาพของรัฐที่รับรองคุณสมบัติทางการแพทย์ของคุณและเห็นว่างานของคุณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน  

  • EB5: Employment Fifth Preference - วีซ่าทำงานความสำคัญระดับห้า

    • Immigrant Investors สำหรับนักลงทุนที่นำเงินเข้ามาทำธุรกิจและก่อให้เกิดการสร้างงานในอเมริกา โดยที่พวกคุณจะต้องลงทุนในธุรกิจการค้าใหม่ที่จัดตั้งหลังจากวันที่ 29 พฤศจิกายน คศ. 1990 หากเป็นธุรกิจที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้น พวกคุณก็จะต้องปรับปรุงโครงสร้างของธุรกิจใหม่และขยายการลงทุนที่ให้สร้างคุณค่าของบริษัทฯ หรือมีจำนวนพนักงานสูงขึ้นกว่าเดิม 40% สำหรับจำนวนเงินลงทุนนั้นจะต้องไม่น้อยกว่า $1,050,000 และมีเป้าหมายที่จะสร้างงานมีมูลค่า

Anchor 2

Green Card as a Special Immigrant
ใบเขียวในฐานะผู้อพยพแบบพิเศษ

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้ที่เหมาะสมกับคนไทยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

ระยะเวลาดำเนินการของแต่ละวีซ่านั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า โดยจะเรียงลำดับจากเร็วที่สุดไปถึงช้าที่สุด ดังต่อไปนี้

ใ - E4 (Employment Fourth Preference: Certain Special Immigrants) สำหรับลูกจ้างหรือลูกจ้างเดิมของหน่วยงานเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น หน่วยงานเผยแพร่ข่าวสาร องค์กรศาสนา ล่ามทหาร เป็นต้น วีซ่ากลุ่มนี้แบ่งย่อยออกเป็น SD และ SR (คนงานองค์กรศาสนา)SI (ล่ามและนักแปลชาวอิรักและอัฟกานิสถาน)SQ (คนอิรัก), และ SQ (คนอัฟกานิสถาน) 

Green Card through Refugee or Asylee Status
ใบเขียวผ่านการอพยพหรือลี้ภัย

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

ใ - E4 (Employment Fourth Preference: Certain Special Immigrants) สำหรับลูกจ้างหรือลูกจ้างเดิมของหน่วยงานเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น หน่วยงานเผยแพร่ข่าวสาร องค์กรศาสนา ล่ามทหาร เป็นต้น วีซ่ากลุ่มนี้แบ่งย่อยออกเป็น SD และ SR (คนงานองค์กรศาสนา)SI (ล่ามและนักแปลชาวอิรักและอัฟกานิสถาน)SQ (คนอิรัก), และ SQ (คนอัฟกานิสถาน) 

Anchor 3

Green Card for Human Trafficking and CrimeVictims
ใบเขียวสำหรับเหยื่อการค้ามนุษย์และอาชญากรรม

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

ใ - E4 (Employment Fourth Preference: Certain Special Immigrants) สำหรับลูกจ้างหรือลูกจ้างเดิมของหน่วยงานเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น หน่วยงานเผยแพร่ข่าวสาร องค์กรศาสนา ล่ามทหาร เป็นต้น วีซ่ากลุ่มนี้แบ่งย่อยออกเป็น SD และ SR (คนงานองค์กรศาสนา)SI (ล่ามและนักแปลชาวอิรักและอัฟกานิสถาน)SQ (คนอิรัก), และ SQ (คนอัฟกานิสถาน) 

Green Card for Victims of Abuse
ใบเขียวสำหรับเหยื่อทารุณกรรม

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ใบเขียวสำหรับเหยื่อการทารุณกรรม (Green Card for Victims of Abuse)

    1. VAWA self-petitioner-victim of battery or extreme cruelty - เหยื่อทารุณกรรมที่โหดร้ายรุนแรงจากคนในครอบครัว () วีซ่าประเภทนี้เป็นการยื่นขอโดยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมที่เข้ากรณี ดังต่อไปนี้

      1. คู่สมรสที่ถูกทารุณกรรมโดยคู่สมรสชาวอเมริกันหรือผู้ถือใบเขียว

      2. บุตรอายุต่ำกว่า 21 ปีและเป็นโสดที่ถูกทารุณกรรมโดยพ่อแม่ชาวอเมริกันหรือผู้ถือใบเขียว

      3. พ่อแม่ที่ถูกทารุณกรรมโดยบุตรที่เป็นชาวอเมริกัน

Green Card through Other Categories
ใบเขียวผ่านทางหมวดหมู่อื่น ๆ

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ใบเขียวสำหรับเหยื่อการทารุณกรรม (Green Card for Victims of Abuse)

    1. VAWA self-petitioner-victim of battery or extreme cruelty - เหยื่อทารุณกรรมที่โหดร้ายรุนแรงจากคนในครอบครัว () วีซ่าประเภทนี้เป็นการยื่นขอโดยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมที่เข้ากรณี ดังต่อไปนี้

      1. คู่สมรสที่ถูกทารุณกรรมโดยคู่สมรสชาวอเมริกันหรือผู้ถือใบเขียว

      2. บุตรอายุต่ำกว่า 21 ปีและเป็นโสดที่ถูกทารุณกรรมโดยพ่อแม่ชาวอเมริกันหรือผู้ถือใบเขียว

      3. พ่อแม่ที่ถูกทารุณกรรมโดยบุตรที่เป็นชาวอเมริกัน

Green Card through Registry
ใบเขียวผ่านทางการลงทะเบียน

 วีซ่าถาวรในกลุ่มนี้สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในอเมริกาอย่างต่อเนื่องก่อนวันที่ 1 มกราคม คศ. 1972 แต่ยังไม่มีใบเขียว ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีศีลธรรมจรรยา (good moral charactor) ไม่เคยรับโทษฆ่าคนตายหรือกระทำผิดนี้ซ้ำซ้อน อันส่งผลให้ไม่มีสิทธิขอสัญชาติสหรัฐฯ ในภายหลัง รวมทั้งไม่ติดโทษส่งตัวออกนอกประเทศ (removable or deportable) ในข้อหาหนัก เช่น เป็นผู้ก่อการร้าย หรือติดโทษอาญาต่าง ๆ ตามกฏบุคคลห้ามเข้าประเทศ (inadmissible)

หมายเหตุ

  • หากชาวอเมริกันหรือผู้ถือใบเขียวที่เป็นสปอนเซอร์ให้กับสมาชิกในครอบครัว (Petitioner) เสียชีวิต การดำเนินการด้านวีซ่าเหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ผู้ขอวีซ่าจะต้องหาสปอนเซอร์วีซ่าถาวรใหม่ (อ่านเพิ่มเติม) ยกเว้นกรณีวีซ่าถาวรคู่สมรส ​CR1/IR1 และ CR2/IR2 การดำเนินการเรื่องวีซ่ายังเลื่อนต่อไปได้ เพียงแต่ต้องแจ้งให้ทาง USICS ทราบเพิ่มเติมเท่านั้น

  • หากสมาชิกในครอบครัว (Principal Beneficiary) ที่ชาวอเมริกันหรือผู้ขอใบเขียวขอวีซ่าถาวรให้เสียชีวิต การดำเนินการด้านวีซ่าเหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเช่นกัน  

หมายเหตุ

  • หากชาวอเมริกันหรือผู้ถือใบเขียวที่เป็นสปอนเซอร์ให้กับสมาชิกในครอบครัว (Petitioner) เสียชีวิต การดำเนินการด้านวีซ่าเหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ผู้ขอวีซ่าจะต้องหาสปอนเซอร์วีซ่าถาวรใหม่ (อ่านเพิ่มเติม) ยกเว้นกรณีวีซ่าถาวรคู่สมรส ​CR1/IR1 และ CR2/IR2 การดำเนินการเรื่องวีซ่ายังเลื่อนต่อไปได้ เพียงแต่ต้องแจ้งให้ทาง USICS ทราบเพิ่มเติมเท่านั้น

  • หากสมาชิกในครอบครัว (Principal Beneficiary) ที่ชาวอเมริกันหรือผู้ขอใบเขียวขอวีซ่าถาวรให้เสียชีวิต การดำเนินการด้านวีซ่าเหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเช่นกัน  

bottom of page